ดนตรี กลองปู่จา
ชื่อกลุ่ม/บุคคล : กลองปู่จา
เบอร์ติดต่อ :
ที่ตั้ง : ต. อ. จ.ลำปาง
ประเภทของเครื่องดนตรี : วงกลอง
บทบาทหน้าที่และโอกาส : กลองปู่จาถือได้ว่าเป็นกลองล้านนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ปรากฎอยู่ตามวัดต่างๆ
วงกลองปู่จาจะประกอบไปด้วย กลองใหญ่ หรือกลองแม่ หรือกลองหลวง ๑ ใบ และกลองขนาดเล็ก ๓ ใบ ที่มีขนาดลดหลั่นกันลงไป เรียกว่า กลองลูกตุ๊บ การตีประโคมกลองปู่จามีวาระที่สำคัญดังนี้
- ตีเพื่อเป็นสัญญาณบอกกล่าวว่าพรุ่งนี้เป็น “วันพระ” ซึ่งจะตีในช่วงหัวค่ำของคืนวันขึ้น/แรม ๗ ค่ำ และวันขึ้น/แรม ๑๔ ค่ำ เพื่อเตือนสติให้ชาวบ้านได้รับรู้วันในวันรุ่งขึ้นเป็นวันพระ ซึ่งควรเตรียมตัวไปวัดทำบุญตักบาตร งดเว้นการฆ่าสัตว์เพื่อการบริโภค การประโคมกลองลักษณะนี้จะมีฆ้องและฉาบเข้ามาบรรเลงประกอบ มีทำนองจังหวะที่ช้า สงบ และเยือกเย็น ทำนองที่นิยมใช้ตีกลองปู่จาในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย ทำนองสาวเก็บผัก ทำนองตึ่งนั่ง ทำนองย่าจุ่ม ทำนองตุ๊ปี้เจ็บท้อง ทำนองหลกเป็ดหลกไก่ เป็นต้น
- ตีเมื่อพระเทศนาจบ ท่วงทำนองในการตีจะเป็นจังหวะที่รวดเร็ว ใช้ผู้ตี ๒ คน คนแรกจะเป็นผู้ตีให้เกิดทำนอง ส่วนอีกคนจะตีด้วยไม้แสะเพื่อเดินจังหวะหลัก การตีกลองลักษณะนี้จะเรียกว่า ทำนอง
สุดธรรม หรือทำนองฟาดแสะ หรือทำนองสะบัดชัย
- ตีเพื่อเฉลิมฉลองการทำบุญใหญ่ที่จัดขึ้นภายในวัด เช่น งานฉลองเสนาสนะภายในวัด งานตานก๋วยสลาก งานทำบุญถวายผ้าป่า งานทำบุญถวายกฐิน เป็นต้น รูปแบบและจังหวะการตีกลองมีรูปแบบเดียวกันกับทำนองสุดธรรม
- ตีเพื่อเรียกประชุม ในอดีตจะตีกลองปู่จาเป็นอาณัติสัญญาณในการเรียกประชุม ซึ่งมักจะมารวมตัวเพื่อประชุมกันในบริเวณวัด
- ตีเมื่อเกิดเหตุด่วนเหตุร้ายเกิดขึ้นภายในวัด หรือหมู่บ้าน ลักษณะการตีจะตีรัวกลองแบบยาวๆ เพื่อให้ชาวบ้านได้รับรู้และรีบเข้ามาช่วยกันระงับเหตุร้ายดังกล่าว

ชื่อเพลงและทำนองเพลง : ทำนองสาวเก็บผัก ทำนองตึ่งนั่ง ทำนองย่าจุ่ม ทำนองตุ๊ปี้เจ็บท้อง ทำนองหลกเป็ดหลกไก่ ทำนอง
สุดธรรม หรือทำนองสะบัดชัย
รูปแบบและเครื่องดนตรีที่ใช้ : ชุดกลองปู่จาประกอบด้วย กลองหลวง หรือกลองแม่ หรือกลองใหญ่ ๑ ใบ และกลองลูกตุ๊บ ๓ ใบ แห่ประโคมพร้อมฆ้องและฉาบ
คำอธิบายอื่นๆ :
แหล่งข้อมูล :
ผู้บันทึก : wirasak khongdoem
วันที่บันทึก : 22/08/2564
เปิดอ่าน : 588 ครั้ง

การเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
ภาพ

วิดีโอ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์

เว็บไซต์อัตลักษณ์ลำปาง
ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เลขที่ 119 หมู่ 9 ถนนลำปาง-แม่ทะ อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง 52100

© 2564-2567 ระบบฐานข้อมูลอัตลักษณ์ จังหวัดลำปาง