ผ้าและเครื่องแต่งกาย ผ้าตั้งธรรมหลวง
ชื่อ : ผ้าตั้งธรรมหลวง
แหล่งค้นพบ : วัดพระธาตุเสด็จ ต.บ้านเสด็จ อ.เมือง จ.ลำปาง
กลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยวน
ประเภท : ผ้าในพระพุทธศาสนา
หน้าที่/โอกาส : ใช้ในประเพณีการเทศน์มหาชาติหรือตั้งธรรมหลวง
วัตถุดิบในการทอ : ฝ้าย
ประวัติ/คำอธิบาย : ผ้าตั้งธรรมหลวง นับเป็นเครื่องพิธีกรรมอีกสิ่งหนึ่งที่น้อยคนนักจะรู้จักและพบเห็นในปัจจุบัน จะผูกติดกับกากะเยียหรือค้างธรรมที่เป็นโครงไม้กลึงสามขาไขว้ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพิเศษสำหรับพระธรรมเทศนา เรื่อง เวสสันดรชาดกในการเทศน์มหาชาติหรือตั้งธรรมหลวง การสร้างงานชนิดนี้ ถือเป็นงานที่สตรีได้เข้ามามีบทบาทอีกครั้งในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนา ด้วยการใช้ฝีมือในการเย็บปักถักร้อยประดิษฐ์งานที่ละเอียดอ่อนมีการปรับใช้วัสดุมีค่า เช่น แผ่นโลหะเงินและทองฉลุและดุนลายเป็นลวดลายกระหนก พรรณพฤกษา และเทวดาพนมมือ บางครั้งจึงเรียกชื่อผ้านี้ว่า “ผ้าพรหมสี่หน้า”
วัตถุดิบและวิธีการย้อมสี :
เทคนิควิธีการทอ :
การตกแต่ง :
ลวดลาย :
แหล่งข้อมูล :
ผู้บันทึก : Tawatchai tumtong
วันที่บันทึก : 19/08/2564
เปิดอ่าน : 751 ครั้ง

การเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
ภาพ

วิดีโอ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์

เว็บไซต์อัตลักษณ์ลำปาง
ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เลขที่ 119 หมู่ 9 ถนนลำปาง-แม่ทะ อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง 52100

© 2564-2567 ระบบฐานข้อมูลอัตลักษณ์ จังหวัดลำปาง