ผ้าและเครื่องแต่งกาย กลุ่มผ้าทอน้ำมอญแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน
ชื่อ : กลุ่มผ้าทอน้ำมอญแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน
แหล่งค้นพบ : บ้านศรีดอนมูล ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
กลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยวน
ประเภท : ซิ่น ผ้าปูโต๊ะสี่เหลี่ยม ผ้าปูโต๊ะกลม ผ้าคลุมตู้เย็น ผ้าคลุมไหล่ ผ้าคลุมเตียง ผ้ารองจาน ผ้าม่าน พรม ผ้าเมตร ปลอกหมอน กระเป๋า เสื้อสำเร็จรูป
หน้าที่/โอกาส : ผ้าสำหรับนุ่งห่ม
วัตถุดิบในการทอ : ฝ้าย
ประวัติ/คำอธิบาย : แม่น้ำมอญเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกแจ้ซ้อน สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง และยังเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้านศรีดอนมูลและหมู่บ้านใกล้เคียงในตำบล แจ้ซ้อนมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ดังนั้นผู้ที่อาศัยอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำมอญจึงมีวิถีผูกพันกับแม่น้ำสายนี้มาโดยตลอดรวมถึงการทำไร่ฝ้ายซึ่งจะอาศัยพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมอญเป็นแหล่งเพาะปลูก แล้วนำผลผลิตที่ได้มาทอเป็นเครื่องนุ่งห่มใช้กันภายในครอบครัว และยังได้ถ่ายทอดให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อกันมา
ปัจจุบันชาวบ้านศรีดอนมูลยังคงผูกพันกับแม่น้ำมอญและรู้สึกสำนึกในบุญคุณของสายน้ำแห่งนี้และเพื่อแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษจึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจที่จะนำภูมิปัญญาที่ได้ รับการสืบทอดมาผสมผสานกับแนวความคิดแบบสมัยใหม่ ถ่ายทอดออกมาบนผืนผ้าทอที่มีชื่อว่า "ผ้าทอน้ำมอญ"
ผ้าทอน้ำมอญเป็นผ้าฝ้ายทอมือย้อมด้วยสีธรรมชาติ ใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น มีการออกแบบลวดลายทางขวาและคั่นด้วยไก ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์และพัฒนาให้ทันสมัยได้
วัตถุดิบและวิธีการย้อมสี : เริ่มตั้งแต่การเก็บดอกฝ้าย ต้องเลือกที่แก่จนได้ที่การตีฝ้ายให้เมล็ดฝ้ายแยกจากฝ้ายโดยใช้ "อีด" แล้วนำมาดีดให้ฟูเหมือนสำลีจากนั้นนำไปติวเป็นเส้นด้ายที่เรียกว่า "เข็นฝ้าย" หรือเข้าเผียน การจะทำเส้นด้ายให้เล็กๆ นั้นต้องอาศัยความชำนาญด้วยการเข้า "เหล็กใน" และการเอาด้ายออกจากเหล็กในต้องมีความชำนาญ การกวักฝ้ายจะนำเส้นฝ้ายที่กวักไปขึงกับ "เฝือ" เพื่อจะนำไปย้อมแล้วตากจากนั้นเอกไปกวักแล้วโว้นกับหลักให้ได้ตามความยาวที่ต้องการ เราสามารถกำหนดลายขณะโว้นได้
เทคนิควิธีการทอ : การทอผ้าถุงลายขวางของชาวลำปาง หลังจากโว้นแล้วนำฝ้ายไปเข้า "เขา" และ "ฟืม" ส่วนด้ายที่ใช้พุ่งจะกรอใส่กระสวยแล้วเริ่มพิธีกรรมทอบนฮูก (หูก)
การตกแต่ง : การขั้นลายด้วย “ไก” มีลักษณะเป็นลายเกลียวนูนออกมาจากเนื้อผ้า
ลวดลาย : การออกแบบลวดลายในทางขวางซึ่งจะแตกต่างจากการทอแบบดั้งเดิมที่นิยมออกลายตามทางยาวทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อการปรับเปลี่ยนลายให้ทันต่อความต้องของตลาดที่มักเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ยังคงอนุรักษ์ของเก่าซึ่งเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ด้วยการขั้นลายด้วย "ไก" มีลักษณะเป็นลายเกลียวนูนออกมาจากเนื้อผ้าช่วยเสริมเสน่ห์ให้แก่ผ้าน้ำมอญ
แหล่งข้อมูล :
ผู้บันทึก : Kamonwan Tawan
วันที่บันทึก : 26/07/2564
เปิดอ่าน : 635 ครั้ง

การเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
ภาพ

วิดีโอ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์

เว็บไซต์อัตลักษณ์ลำปาง
ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เลขที่ 119 หมู่ 9 ถนนลำปาง-แม่ทะ อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง 52100

© 2564-2567 ระบบฐานข้อมูลอัตลักษณ์ จังหวัดลำปาง