ผ้าและเครื่องแต่งกาย กลุ่มผ้าทอมือบ้านบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง
ชื่อ : กลุ่มผ้าทอมือบ้านบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง
แหล่งค้นพบ : หมู่ที่ 2 ต.บ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ลำปาง
กลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยวน
ประเภท : ซิ่น
หน้าที่/โอกาส : สำหรับนุ่งห่ม
วัตถุดิบในการทอ : ฝ้าย
ประวัติ/คำอธิบาย : ก่อตั้งเมื่อปี 2553 ภายใต้การรวมตัวของกลุ่มชาวบ้านตำบลบ่อแฮ้ว เพื่อผลิตสินค้าที่เกี่ยวกับผ้าทอ ที่มาจากฝีมือชาวบ้านตำบลบ่อแฮ้ว โดยในระยะแรกบางกลุ่ม มีสมาชิกประมาณ 30 คน ซึ่งเป็นกลุ่มแม่บ้านที่ว่างจากการทำงานประจำหรือจากการทำการเกษตร โดยได้ให้สมาชิกในกลุ่มไปเรียนรู้กรรมวิธีทอผ้าบ้านน้ำโท้งแล้วนำองค์ความรู้มาต่อยอดในการทอผ้าของกลุ่ม ทั้งนี้ทางกลุ่มเองยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายในพื้นที่ เช่น การสนับสนุนจากเทศบาลตำบลบ่อแฮ้วในด้านงบประมาณและจากพัฒนาชุมชนจังหวัดในการส่งเสริมองค์ความรู้และเทคนิคในการทอ เป็นต้น
ในอดีตชาวบ้านในพื้นที่บ้านบ่อแฮ้วมีการทอใช้ในครัวเรือน โดยใช้กรรมวิธีดั้งเดิมในการทอด้วยการใช้ฝ้ายพื้อเมือง หรือที่เรียกว่า ฝ้ายดอก ปั่น และอีดฝ้ายด้วยตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะทอเป็นผ้าห่มที่เรียกว่า ผ้าห่มตากี้บ หรือหากเป็นเสื้อผ้าหรือผ้าซิ่นก็มักจะย้อมด้วยสีครามเป็นหลัก ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปการทอผ้าด้วยฝ้ายพื้นเมืองได้รับความนิยมน้อยลงและการเข้ามาของไหมประดิษฐ์และฝ้ายจากโรงงานที่หาซื้อง่ายสะดวกต่อการนำมาผลิตสินค้าจึงได้รับความนิยมมากกว่า
ผ้าซิ่นที่ทางกลุ่มทอในปัจจุบันเป็นการทอด้วยกี่กระตุก โดยส่วนใหญ่จะทอเป็นลายพื้นฐาน เช่น ลายตาโก้ง ลายตาล่อง ผ้าก่านคอควาย เป็นต้น แต่ผ้าที่เป็นลายเอกลักษณ์ของกลุ่ม คือ ผ้าทอลายเวียงละกอน โดยเป็นผ้าทอที่เน้นการทอด้วยสีเหลืองและสีดำสลับกันทั้งผืน ซึ่งเป็นผ้าทอที่ได้รับการนิยมและมีการสั่งทอมากที่สุด
วัตถุดิบและวิธีการย้อมสี : ไหมประดิษฐ์และฝ้ายจากโรงงาน
เทคนิควิธีการทอ : การทอด้วยสีเหลืองและสีดำสลับกัน
การตกแต่ง : สีจากไหมประดิษฐ์และฝ้าย
ลวดลาย : ลายตาโก้ง ลายตาล่อง ผ้าก่านคอควาย ลายเวียงละกอน
แหล่งข้อมูล :
ผู้บันทึก : Kamonwan Tawan
วันที่บันทึก : 26/07/2564
เปิดอ่าน : 643 ครั้ง

การเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
ภาพ

วิดีโอ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์

เว็บไซต์อัตลักษณ์ลำปาง
ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เลขที่ 119 หมู่ 9 ถนนลำปาง-แม่ทะ อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง 52100

© 2564-2567 ระบบฐานข้อมูลอัตลักษณ์ จังหวัดลำปาง