ผ้าและเครื่องแต่งกาย ผ้าห่อคัมภีร์
ชื่อ : ผ้าห่อคัมภีร์
แหล่งค้นพบ : ป่าตันหลวง ต.ป่าตัน อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
กลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยวน
ประเภท : ผ้าในพระพุทธศาสนา
หน้าที่/โอกาส : การสร้างคัมภีร์ใบลานเพื่อถวายวัดถือเป็นการสืบพระศาสนาให้ยั่งยืน ชาวพุทธเชื่อว่าการสร้างคัมภีร์ธรรมต่าง ๆ จะได้อานิสงส์มาก หากเกิดมาชาติหน้าจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดได้บรรลุธรรมอันวิเศษ ประเพณีการ “ทานธรรม” จึงเป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะผู้ชายชาวล้านนาจะมีโอกาสบวชเรียน สำหรับผู้หญิง แม้ไม่มีโอกาสได้เรียนเขียนอ่านคัมภีร์เหล่านี้ แต่ก็สามารถสร้างสมบุญได้จากการประดิษฐ์ผ้าห่อเพื่อรักษาคัมภีร์ไว้ ในอดีตผู้หญิงชาวล้านนามีการใช้เส้นผมของตนมาฟั่นกับเส้นด้ายเป็นเชือกร้อยคัมภีร์ ซึ่งถือกันว่าได้บุญมาก ผู้หญิงที่มีความสามารถในการทอผ้าก็จะบรรจงประดิษฐ์ตกแต่งผ้าห่อคัมภีร์เป็นลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงาม ใช้เทคนิคการนำเอาเส้นด้ายพันด้วยไม้ไผ่สอดสลับเป็นลวดลายต่าง ๆ เย็บขอบริมด้วยผ้าพื้นเพื่อให้มีความคงทนและเก็บรักษาคัมภีร์ใบลานไว้ได้นาน
วัตถุดิบในการทอ : ฝ้าย
ประวัติ/คำอธิบาย : ผ้าห่อคัมภีร์ หรือ ผ้าซิ่นธัมธ์ หรือ ผ้าห่อกัมพีร์ คือผ้าห่อคัมภีร์ใบลานจะเป็นผ้าทอหรือจัดหาขึ้นเป็นอย่างพิเศษเพื่อรักษาธัมม์หรือคัมภีร์ให้คงทน ในลำปางมีการใช้อยู่ทั้งหมด 4 รูปแบบ คือ
1. แบบทอ
2. แบบพันด้าย
3. แบบถักด้าย
4. แบบเย็บเป็นถุง

วัตถุดิบและวิธีการย้อมสี : วัสดุในการทำผ้าห่อคัมภีร์
1. เส้นฝ้ายหรือไหมประดิษฐ์
2. ผ้าฝ้าย 1 เมตร
3. ไม้ไผ่ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 50 เส้น
4. เข็มและด้าย
เทคนิควิธีการทอ :
การตกแต่ง :
ลวดลาย :
แหล่งข้อมูล :
ผู้บันทึก : Tawatchai tumtong
วันที่บันทึก : 17/08/2564
เปิดอ่าน : 605 ครั้ง

การเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
ภาพ

วิดีโอ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์

เว็บไซต์อัตลักษณ์ลำปาง
ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เลขที่ 119 หมู่ 9 ถนนลำปาง-แม่ทะ อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง 52100

© 2564-2567 ระบบฐานข้อมูลอัตลักษณ์ จังหวัดลำปาง