เซรามิก แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาเตาบ้านไผ่แม่พริก ตำบลวังใต้
ชื่อเซรามิก : แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาเตาบ้านไผ่แม่พริก ตำบลวังใต้
แหล่งที่มา :
ที่ตั้ง : บ้านไผ่แม่พริก ต.วังใต้ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
รูปแบบและที่มา : แหล่งเตาบ้านไผ่แม่พริก ปัจจุบันเป็นเขตของหมู่บ้านไผ่แม่พริก หมู่ที่ ๕ ตำบลวังใต้ อำเภอวังเหนือ ห่างจากทางหลวงแผ่นดินสายลำปาง - วังเหนือ กิโลเมตรที่ ๙๔ ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๒ กิโลเมตรบริเวณที่พบเตามีลักษณะเป็นเนินเขา มีลำห้วยไหลผ่านทางทิศตะวันออกและทิศเหนือของพื้นที่
สภาพเตาบ้านไผ่แม่พริก นับว่าเตาเผาโบราณที่บ้านไผ่แม่พริก เป็นเตาที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด หน่วยศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ได้ทำการสำรวจและขุดแต่งเตากลุ่มนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จำนวน ๔ เตา ใกล้เคียงกับหลุม หนึ่งมีเตาตั้งเรียงกันเป็นคู่ ลักษณะของเตาก่อด้วยดินเป็นรูปวงรีกว้างประมาณ ๒๐๐ เมตร ยาว ประมาณ ๖ เมตร หลังคาเตาสูงประมาณ ๑.๗ เมตร มีปากปล่องปั้นด้วยดินเช่นกัน กว้าง ประมาณ ๖ เมตร สูงประมาณ ๑ เมตร เตาบ้านไผ่แม่พริกเป็นเตาชนิดระบายความร้อนผ่านในแนวนอน โครงสร้างของเตาปั้นด้วยดินดิบ ปล่อยให้แห้งเสียก่อนแล้วใช้น้ำดินเคลือบผนังด้านในเตา ทำให้เตามีความแข็งแรงทนทานกว่าเตาอิฐ พื้นภายในเตาแบ่งเป็นพื้นส่วนวางเครื่องปั้นซึ่งทำเป็นแคร่ยกสูง กับส่วนท้ายที่สุมฟื้นอยู่ในระดับดิน ปัจจุบันเตาที่กรมศิลปากรขุดแต่งไว้เริ่มชำรุดทรุดโทรม เนื่องจากผุผังไปตามธรรมชาติและถูกนักสำรวจรบกวน

วัสดุ : ดินพื้นบ้าน
เทคนิค : แหล่งเตาบ้านไผ่แม่พริก ปัจจุบันเป็นเขตของหมู่บ้านไผ่แม่พริก หมู่ที่ ๕ ตำบลวังใต้ อำเภอวังเหนือ ห่างจากทางหลวงแผ่นดินสายลำปาง - วังเหนือ กิโลเมตรที่ ๙๔ ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๒ กิโลเมตรบริเวณที่พบเตามีลักษณะเป็นเนินเขา มีลำห้วยไหลผ่านทางทิศตะวันออกและทิศเหนือของพื้นที่
สภาพเตาบ้านไผ่แม่พริก นับว่าเตาเผาโบราณที่บ้านไผ่แม่พริก เป็นเตาที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด หน่วยศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ได้ทำการสำรวจและขุดแต่งเตากลุ่มนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จำนวน ๔ เตา ใกล้เคียงกับหลุม หนึ่งมีเตาตั้งเรียงกันเป็นคู่ ลักษณะของเตาก่อด้วยดินเป็นรูปวงรีกว้างประมาณ ๒๐๐ เมตร ยาว ประมาณ ๖ เมตร หลังคาเตาสูงประมาณ ๑.๗ เมตร มีปากปล่องปั้นด้วยดินเช่นกัน กว้าง ประมาณ ๖ เมตร สูงประมาณ ๑ เมตร เตาบ้านไผ่แม่พริกเป็นเตาชนิดระบายความร้อนผ่านในแนวนอน โครงสร้างของเตาปั้นด้วยดินดิบ ปล่อยให้แห้งเสียก่อนแล้วใช้น้ำดินเคลือบผนังด้านในเตา ทำให้เตามีความแข็งแรงทนทานกว่าเตาอิฐ พื้นภายในเตาแบ่งเป็นพื้นส่วนวางเครื่องปั้นซึ่งทำเป็นแคร่ยกสูง กับส่วนท้ายที่สุมฟื้นอยู่ในระดับดิน ปัจจุบันเตาที่กรมศิลปากรขุดแต่งไว้เริ่มชำรุดทรุดโทรม เนื่องจากผุผังไปตามธรรมชาติและถูกนักสำรวจรบกวน

ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง :
สภาพปัจจุบัน :
แหล่งข้อมูล :
ผู้บันทึก : Tawatchai tumtong
วันที่บันทึก : 16/08/2564
เปิดอ่าน : 594 ครั้ง

การเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
ภาพ

วิดีโอ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์

เว็บไซต์อัตลักษณ์ลำปาง
ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เลขที่ 119 หมู่ 9 ถนนลำปาง-แม่ทะ อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง 52100

© 2564-2567 ระบบฐานข้อมูลอัตลักษณ์ จังหวัดลำปาง