เซรามิก แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาเตาห้วยทราย ตำบลวังแก้ว
ชื่อเซรามิก : แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาเตาห้วยทราย ตำบลวังแก้ว
แหล่งที่มา :
ที่ตั้ง : ห้วยทราย ต.วังแก้ว อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
รูปแบบและที่มา : แหล่งเตาห้วยทรายซึ่งเป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา ด้านทิศเหนือและตะวันออกของชุมชนโบราณเวียงกาหลง เขตชายแดนจังหวัดเชียงรายห่างจากบ้านป่าส้าน ตำบลทุ่งฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เข้าไปในเขตจังหวัดลำปาง ที่ตำบลวังแก้วและตำบลทุ่งชั่วของอำเภอ วังเหนือ ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๓ - ๕ กิโลเมตร แหล่งเตาบ้านห้วยทรายมีพื้นที่เป็นแนวยาวตามลำห้วยทราย มีภูมิประเทศเป็นที่ราบ ระหว่างลำห้วยกับเนินเขา เช่นเดียวกับภูมิประเทศที่เป็นแหล่งเครื่องปั้นดินเผาโบราณส่วนใหญ่ ทั่วไป พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ทุ่งนาและสวนของชาวบ้าน สามารถเข้าถึงโดยการเดินเท้าตามทางเกวียน
แหล่งเตาห้วยทราย เป็นแหล่งเครื่องปั้นดินเผาโบราณแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่ง ที่พบซากเตาที่มีสภาพสมบูรณ์ กรมศิลปากรเคยทำการขุดแต่งซากเตาโบราณ เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๑๕ - ๒๕๑๘ แต่มิได้ทำ การป้องกันรักษา ทำให้แตกที่ขุดแต่งไว้นั้น ถูกทำลายโดยมนุษย์และธรรมชาติจนหมดสภาพอย่างน่าเสียดาย จากสภาพที่ปรากฏในปัจจุบัน พบเตาห้วยทราย ๓ เตา เป็นเตาเดี่ยว ๑ เตาและ เตาแฝดอีก ๑ คู่ อยู่ในบริเวณเดียวกัน ลักษณะของเตา เป็นเตาดิน เหมือนเตาที่บ้านไผ่แม่พริก ขนาดทั่วไปกว้างประมาณ ๒ เมตร ยาวประมาณ ๕ เมตร

วัสดุ :
เทคนิค : ลักษณะของเครื่องปั้นดินเผาเตาห้วยทราย ได้แก่ จาน กระปุก ชาม เป็นเครื่องปั้นดินเผา ที่ปั้นด้วยดินขาวเคลือบสีขาวไว้ เขียนลายสีดำใต้เคลือบด้วยแปรงหรือพูกันเป็นลายดอกไม้ มีเส้นคม การเขียนลายพู่กันเป็นไปด้วยความชำนาญ ลักษณะของดอกไม้เป็นสีดำเป็น กลีบใหญ่ ดูคล้ายรูปนกหรือกา จนมีผู้อธิบายว่าเป็นรูปกา และเรียกชื่อเครื่องปั้นดินเผาชนิดนี้ว่า เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง โดยเรียกตามชื่อของชุมชนโบราณในเขตจังหวัดเชียงราย ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับแหล่งเตาบ้านห้วยทราย
ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง :
สภาพปัจจุบัน :
แหล่งข้อมูล :
ผู้บันทึก : Tawatchai tumtong
วันที่บันทึก : 16/08/2564
เปิดอ่าน : 904 ครั้ง

การเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
ภาพ

วิดีโอ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์

เว็บไซต์อัตลักษณ์ลำปาง
ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เลขที่ 119 หมู่ 9 ถนนลำปาง-แม่ทะ อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง 52100

© 2564-2567 ระบบฐานข้อมูลอัตลักษณ์ จังหวัดลำปาง