ชื่อพุทธศิลป์ : จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดเกาะวารุการาม
ที่อยู่ : วัดเกาะวารุการาม ต.สวนดอก อ.เมือง จ.ลำปาง
ประเภท : จิตกรรมฝาผนัง
ประวัติความเป็นมา : จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดเกาะวาลุการาม อาจกล่าวได้ว่า เป็นแบบแผนความนิยมเฉกเช่นงานจากกรุงเทพฯ ซึ่งเริ่มแพร่หลายเข้าสู่พื้นที่ล้านนาตั้งแต่ช่วง ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เช่น ตัวอย่างงานในเมืองเชียงใหม่ที่ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ และที่ วิหารวัดเสาหิน โดยที่งานดังกล่าวนี้คงเขียนขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ " ขณะที่เมื่อพิจารณาจาก หลักฐานการก่อสร้างแล้ว งานของช่างปวนที่วัดแห่งนี้ควรมีอายุสมัยอยู่ในราวต้นรัชกาลที่ ๖
ลักษณะทางศิลปกรรม งานจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้เดินตามรอยผลงานฝีมือครูที่อุโบสถวัดบุญวาทย์วิหาร จัดเป็นงานแบบกรุงเทพฯสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยจากลักษณะที่ปรากฏ ทำให้มีที่กล่าวถึงความ เป็นไปได้ว่าช่างปวนคงเคยเดินทางลงมาชมและศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังบางแห่งที่กรุงเทพฯ ด้วยตัวเอง
ภายในอุโบสถ ภาพจิตรกรรมฝาผนังมีการใช้สีสันที่หลากหลาย โดยมีคู่สีสำคัญ คือ สี่ ฟ้าของท้องฟ้าที่เป็นฉากหลังภาพ และสีส้มแดงของต้นไม้บางส่วนและเครื่องแต่งกายของบุคคล ในภาพ ที่ทำให้โทนสีของภาพค่อนข้างสว่างและสดใส การใช้สีสันหลากหลายและโทนสีสว่างพบในงานจิตรกรรมฝาผนังแบบกรุงเทพฯแล้วตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งปรากฏอิทธิพลภาพวาดแบบตะวันตกแพร่หลายอยู่ทั่วไป ดังนั้นงานใน
ระยะต่อมาจึงปรับเปลี่ยนเข้าสู่แบบแผนความสมจริงแบบตะวันตกมากยิ่งขึ้น หากว่าโดยส่วน รายละเอียด เช่น เครื่องแต่งกายหรืองานสถาปัตยกรรมภายในภาพ ยังคงเป็นแบบประเพณีอยู่ มากตามเนื้อหาเรื่องราวของภาพ
การไล่โทนสีท้องฟ้าในส่วนฉากหลังของภาพจากสีเข้มลงสู่สีอ่อนที่เส้นขอบฟ้า ตัดกับสีคู่ ตรงข้าม คือ สีส้ม ที่ระบายเป็นสีพุ่มต้นไม้ซึ่งเขียนให้มีลำต้นตรงของภาพจิตรกรรมภายใน อุโบสถวัดเกาะวาลุกา เป็นรูปแบบตะวันตกที่พบในงานจิตรกรรมฝาผนังแบบ กรุงเทพฯมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ มีตัวอย่างสําคัญ เช่น จิตรกรรมฝาผนังเรื่องศรีธนญชัย ภายในวิหารวัดปทุมวนาราม * โดยที่ส่วนของท้องฟ้านั้น บางครั้งได้มีการเพิ่มเติมภาพทวยเทพ เหาะอยู่ท่ามกลางหมู่เมฆ ที่เขียนให้มีขนาดต่างกันเพื่อผลในทางทัศนียวิทยา ภาพเช่นนี้ยังไม่ แน่ชัดว่าอาจมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ แล้วหรือไม่ หากว่าอย่างช้าในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้พบเป็น ที่นิยมกันแล้ว ทั้งยังสืบความนิยมมาถึงงานสมัยรัชกาลที่ ๕ เช่น ที่ภายใน อุโบสถวัดราช ประดิษฐ์ เป็นต้น
วัสดุ : ไม้
เทคนิค :
ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง :
สภาพปัจจุบัน :
แหล่งข้อมูล :
ผู้บันทึก : Tawatchai tumtong
วันที่บันทึก : 27/07/2564
เปิดอ่าน : 750 ครั้ง
การเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
3. Tawatchai tumtong,
จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดเกาะวารุการาม.
https://www.lampangculture.com. 2564. แหล่งที่มา : https://www.lampangculture.com/a5-view.php?id=3 ค้นเมื่อ
03 มกราคม, 2568.
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ป้ายกำกับ (Tag) :