พุทธศิลป์ จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดช้างเผือก
ชื่อพุทธศิลป์ : จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดช้างเผือก
ที่อยู่ : วัดช้างเผือก ต.ทุ่งฝาย อ.เมือง จ.ลำปาง
ประเภท : จิตกรรมฝาผนัง
ประวัติความเป็นมา : ภาพจิตรกรรมวัดช้างเผือก เล่าเรื่อง ทศชาติชาดกของพระพุทธเจ้า ที่เลือกนำเอาฉากตอนที่สำคัญๆมาเขียนรูปแบบทางศิลปกรรมเป็นรูปแบบประเพณีไทยซึ่งเป็นลักษณะประจำชาตอคือนิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เนื่องในพระพุทธศาสนาและอาคารทีเนื่องด้วยบุคคลชั้นสูงเช่นพระอุโบสถวิหารพระที่นั่งภาพพระบฏ สมุดไทยโดยการเขียนสีฝุ่นนิยมเขียนเรื่องเกี่ยวกับอดีตพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิวรรณคดี ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับผนังพระอุโบสถวิหาร
จิตรกรรมฝาผนังวัดช้างเผือกอยู่ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยสังเกตได้จากผนังด้านข้างช่วงบนติดฝ้าเพดานเขียนชุมนุมและมีการใช้สีคู่ตรงกันข้ามกันจะค่อนข้างใช้สีที่สดสว่าง จิตรกรรมเป็นการเล่าเรื่องทศชาติชาดกเป็นตอนๆเรียงลำดับกันไปทั้งซ้ายและขวาของฝาผนัง ด้านขวาของผนังส่วนใหญ่จะชำรุดเสียหายมากซึ่งเกิดจากความชื้น ทำให้ภาพดูเลือนรางไม่ชัดเจน แต่พอจะมีภาพที่ชัดเจนอยู่บ้างเช่น ทศชาติเวสสันดรชาดก ตอนพระนางผุสดีมเหสีพระส่วนของ
ผนังด้านซ้าย จะค่อนข้างมีความสมบูรณ์และชัดเจนอยู่บ้างเช่นภาพเล่าเรื่อง ภูริทัตต์ชาดก เป็นฉากตอน อาลัมพราหมณ์ร่ายมนตร์แล้วจับหางภูริทัตต์ลักษณะ ของภาพดูมีมิติมีความลึก โดยสังเกตได้จากภูเขาด้านหลังที่มีขนาดเล็ก กว่าคน ด้านหน้า การใช้สีที่แสดงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยกับธรรมชาติโดยเน้นให้ สีที่สว่างกับตัวละคร แต่ต้นไม้ใบหญ้า ภูเขา จะใช้สีหม่น เป็นการเน้นให้ตัวละคร ให้ดูโดดเด่น โดยให้ความสำคัญกับตัวละคร ภาพที่น่าสนใจอีกภาพหนึ่งเป็นภาพเล่าเรื่องจันทกุมารชาดก เป็นฉากตอนกัณหา ลพรามหมณ์ทูลยุยงพระเจ้าเอกราชให้บูชายัญพระมเหสี ราชบุตร ราชธิดา ช้าง แก้ว เพื่อเป็นหนทางไปสวรรค์ มีการใช้สีแบบพหุรงค์ที่มีความสดสว่างและการใช้ สีตัดกัน เป็นภาพสองมิติ มีการตัดเส้นด้วยสีดำ ลายเส้นที่มีความประณีตงดงาม พอจะทราบได้ว่าเป็นช่างที่มีฝีมือและความชำนาญพอสมควร และภาพต่อมาเป็น เรื่องเดียวกัน เป็นภาพฉากตอนตอนท้าวสักกเสร็จลงมาทำลายพิธีบูชายันโดยการ ถือค้อนเหล็กเป็นเปลวไฟลงมาหักฉัตรเป็นการใช้สีแบบพหุรงค์ ได้แก่ สีทอง สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดงชาด และสีขาว แล้วตัดเส้นด้วยสีดำหรือสีแดง แสดงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยสี เป็นภาพที่มีทัศนียภาพตานกมองเป็นภาพสองมิติไม่เน้นแสงเงา
อีกภาพหนึ่งเป็นภาพที่สวยที่สุดและสมบูรณ์ที่สุดในวัด คือภาพเขียนตอนเนมีย ชาดก ฉากพระโพธิสัตว์เนมีย์ประทับอยู่ในสุวรรณสภาปราสาท ณ สวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ ช่างเขียนให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่จั่วสามเหลี่ยมทรงสูง ช่างได้เลือก แบบอย่างของปราสาทแนวอุดมคติคือเป็นแบบวิมานสำหรับสุธรรมสภาซึ่งอยู่บน สรวงสวรรค์แสดงออกซึ่งฝีมือและอารมณ์ของช่างเขียนโบราณได้ถ่ายทอดจินตนาการจากเรื่องราวความเชื่อต่าง ๆ รวมทั้ง เรื่องราวจากประสบการณ์ของช่างเขียนโบราณนับว่าเป็นฝีมือของช่างพื้นบ้านที่มี ชั้นเชิงสูงในการจัดองค์ประกอบ การแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่ว่าง การใช้โครงสีที่ น่าสนใจ ภาพบุคคลที่ปรากฏสามารถบ่งบอกเรื่องราวด้วยภาพ ที่สมบูรณ์

วัสดุ : ไม้
เทคนิค :
ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง :
สภาพปัจจุบัน :
แหล่งข้อมูล :
ผู้บันทึก : Tawatchai tumtong
วันที่บันทึก : 27/07/2564
เปิดอ่าน : 626 ครั้ง

การเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
ภาพ

วิดีโอ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์

เว็บไซต์อัตลักษณ์ลำปาง
ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เลขที่ 119 หมู่ 9 ถนนลำปาง-แม่ทะ อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง 52100

© 2564-2567 ระบบฐานข้อมูลอัตลักษณ์ จังหวัดลำปาง