ชื่อพุทธศิลป์ : จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดท่าแหน
ที่อยู่ : วัดท่าแหน ต.แม่ทะ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
ประเภท : จิตกรรมฝาผนัง
ประวัติความเป็นมา : จิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดท่าแหน ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เนื่องจากเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของช่างปวน และแสดงการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่อย่างชัดเจน ในจิตรกรรมวัดท่าแหนนี้ ช่างปวน สุวรรณสิงห์ เขียนอักษรภาษาไทยระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “ป.สุวรรณสิงห์ วันที่ ๑ มี.ค. ๒๕๐๓” (อาจหมายถึงปีที่แล้วเสร็จ) จากการสัมภาษณ์ พระครูวิธานพัฒนสุนทร (มนต์ศักดิ์ จนฺทโชโต) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน และ พระประชัน คุตฺตธมฺ เล่าว่าการเขียนภาพครั้งนั้น ช่างปวน สุวรรณสิงห์ใช้เวลาในการเขียนราว ๕ - ๖ เดือน และ มีผู้ช่วยคือ นายเสรี สำหรับวิหารหลังใหม่ของวัดท่าแหนนี้ ได้รับการสถาปนาขึ้นในสมัยหลวงพ่อเมือง อุตฺตโม (เมือง ใจทาหลี) หรือพระครูอุดมเวทวรคุณอดีตเจ้าอาวาสวัดท่าแหน หลวงพ่อเมืองนับเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งในหลายรูปของภาคเหนือ ที่มีคณะศรัทธาจากกรุงเทพฯละต่างพื้นที่นอกเขตลำปาง เข้ามาทำบุญกับวัดท่าแหนอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษ ๒๔๙๐ เป็นต้นมา
วิหารหลวงแห่งนี้ได้รับการอุปถัมภ์จำนวนมากกว่า ๕ แสนบาท สร้างวิหารขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ (เริ่มสร้างวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗) โดยใช้แรงงานชาวบ้านและมีหลวงพ่อเมืองเป็นนายช่างใหญ่ หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “สล่าเค้า” จากความทรงจำของพระครูวิธานพัฒนสุนทร (มนต์ศักดิ์ จนฺทโชโต) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน กล่าวว่า ขณะก่อสร้างวิหารนั้น ท่านยังคงเป็นสามเณร ผนังของวิหารมิได้เป็นการก่ออิฐฉาบปูน หากแต่เป็นการเทคอนกรีตตามแบบกรรมวิธีสมัยใหม่ ส่วนโครงสร้างวิหารด้านบนยังเป็นรูปแบบไม้แบบวิหารดั้งเดิมในล้านนา รูปแบบวิหารนี้เป็นแบบสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น มีการฉลองวิหารเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ เนื้อหาของงานจิตรกรรมแบ่งออกเป็น ๔ พื้นที่ ประกอบด้วยผนังสกัดท้ายวิหาร ด้านหลังพระประธาน เขียนเรื่องมารผจญ - ชนะมาร เรื่องพุทธประวัติเริ่มจากผนังสกัดหน้าทางซ้ายของพระประธานเขียนเริ่มจากการอาราธนาพระโพธิสัตว์จุติ และการอภิเษกพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา จากนั้นวนมาฝั่งผนังด้านขวาของพระประธานซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกเขียนเรื่องพุทธประวัติซึ่งอยู่เหนือภาพเล่าเรื่อง เวสสันดรตั้งแต่กัณฑ์ทศพร ดังนั้นผนังทางขวาของพระประธาน (จากด้านนอก) จึงมีวิธีการแบ่งเรื่องพุทธประวัติออกเป็น ๒ ช่องในพื้นที่แนวตั้งและวางเรื่องเวสสันดรชาดกไว้เป็นแนวขวาง จัดวางอย่างสม่ำเสมอไปแบบเวียนซ้ายไปจนสุดผนังด้านซ้าย (ด้านนอกสุด) ของพระประธานส่วนผนังสกัดหน้าเขียนเรื่องพระมาลัยเนื่องจากผนังขนาดใหญ่และสูง ทำให้ช่างปวนออกแบบการจัดวางภาพโดยแบ่งแยกด้วยเส้นกรอบภาพขนาดใหญ่ (ภายในเส้นกรอบเขียนลายช่อดอกไม้) และใต้กรอบภาพทุกกรอบมีกรอบประกอบคำอธิบายภาพด้วยอักษรภาษาไทยและระบุรายชื่อผู้บริจาคทุนทรัพย์ในการเขียนภาพบางกรอบภาพไว้ (๑ ห้อง ๕๐๐ บาท) จากการสังเกตรายชื่อผู้บริจาคพบว่า มีการระบุที่มาของผู้บริจาคไว้อย่างหลากหลายแห่ง อาทิ กรุงเทพฯ,อุตรดิตถ์, เชียงราย, เชียงใหม่ วิธีการออกแบบกรอบภาพเช่นนี้ ไม่ปรากฏมาก่อนในผลงานของช่างปวนในช่วงกลางทศวรรษ ๒๔๕๐ – ๒๔๗๐ น่าจะเป็นครั้งแรกที่ช่างปวนออกแบบวิธีการจัดวางภาพเช่นนี้ มีความเป็นไปได้ว่าช่างปวนน่าจะได้รับอิทธิพลจากการจัดวางกรอบภาพเป็นช่องหรือตารางจากการเขียนเลียนแบบภาพพิมพ์แบบกรุงเทพฯ ดังเช่นชุดภาพ ส.ธรรมภักดี หรือเหม เวชกร ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ดังกรณีตัวอย่าง การเขียนเลียนแบบไว้ที่วิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน งานแรกสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยช่างอาคม ไชยสิทธิ์ อุปถัมภ์โดยพระเทพมุนี อดีตเจ้า
วัสดุ : ไม้
เทคนิค :
ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง :
สภาพปัจจุบัน :
แหล่งข้อมูล :
ผู้บันทึก : Tawatchai tumtong
วันที่บันทึก : 27/07/2564
เปิดอ่าน : 1,027 ครั้ง
การเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
7. Tawatchai tumtong,
จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดท่าแหน.
https://www.lampangculture.com. 2564. แหล่งที่มา : https://www.lampangculture.com/a5-view.php?id=7 ค้นเมื่อ
21 พฤศจิกายน, 2567.
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ป้ายกำกับ (Tag) :