วรรณกรรม วรรณกรรรมพับสา
ชื่อวรรณกรรม : วรรณกรรรมพับสา
รูปแบบวรรณกรรม : วรรณกรรมลายลักษณ์
สถานที่จัดเก็บข้อมูล : วัดศาลาหม้อ ต.ศาลา (ท่าผา) อ.เมือง จ.ลำปาง
หมวด : ตำราอักษรศาสตร์
ภาษา : คณะ 8 ประการ มหาพิมพิสารรัสสะ สาลาคบุตโตภิกขุ ลิขิตสืบคำครูบาเจ้าญาณสมุทโท วัดสาลาราม ปางเมื่อสถิตปฏิบัติวัดสาลาหม้อแก้วกว้างท่าต๊าง ใต้ป่ายางหลวง เมืองนครไชยบุรี สักราชได้ 1222 ตัวปีกดสัน..... เชิงคติจักแป๋งราชสาร สุวรรณบัตรแล หนังสือกำปั๊ดก่ดี จักขอดคาถาบาลีเยื่องใดก่ดี หื้อเทียมเอาคณะ 2 ประการอันมาในวุตโตไทดั่งนี้ สัพพะคะลามะนาทิละตุพยามัชฌันตุคุรุชสามัชฌันตุลาละเตเตตะถะคะณาโคคะรุโลละหุ แม่นว่าคณะทั้งมวล 8 คณะคือดั่งนี้ มะคณะมีคุรุทั้ง 3 นะคณะ มีละหุทั้ง 3 ภะคณะ มีคุรุตัวนึ่งอยู่ปลายละหุ 2 ตัวอยู่ต้น ยะคณะ มีละหุตัวนึ่งอยู่ต้นคุรุ 2 ตัวอยู่ปลาย ชะคณะ มีคุรุตัวนึ่งอยู่กลางมีละหุ 2 ตัวอยู่ต้นอยู่ปลาย สะคณะมีคุรุตัวนึ่งอยู่ปลายละหุ 2 ตัวอยู่ต้น ระคณะมีละหุตัวนึ่งอยู่กลางมีคุรุ2 ตัวอยู่ต้นอยู่ปลาย ตะคณะมีละหุตัวนึ่งอยู่ปลายมีคุรุ 2ตัวอยู่ต้น เป็น 8 คณะแล จักใคร่รู้คุรุละหุแจ้งแท้หื้อเทียมคาถาว่า สะโสคาทิจะทิโฆจันนิคคะหิตตัปปะโร จะโยคุรุวะโกปาทะโนวารัสโสโญมัตติโกหุชุดั่งนี้แล แม่นว่าอักขระตัวอยู่ต้น สังโยคนะ ชื่อ สังโยคาทิคุรุ แลประการนึ่ง ทีฆะสระ(สระเสียงยาว) 5 ตัวคือ อา อี อู เอ้ โอ้ ฝูงนี้ก่ดีพยัญชนะ 32 ตัวมี กะ เป็นต้นมี ฬะ อัง เป็นที่สุดอาศัยซึ่งสระ 5 ตัวก่ชื่อว่าคุรุ ชุตัวแล แม่นว่ารัสสะสระ(สระเสียงสั้น) 3 ตัวคือว่า อะ อิ อุ ฝูงนี้ นิคคหิตอยู่บนว่า อัง อิง อุง สันนี้ก่ดี พยัญชนะ 32 ตัว มีนิคคหิตอยู่บนว่า กัง ขัง ฝูงนี้ชื่อว่าคุรุชุตัวแล แม่นว่าตัวต่อมพินธุนั้นก่ชื่อว่าคุรุชุตัวแล ประการนึ่ง อักขระตัวสุดบาทแห่งคาถาทั้งมวลแม่นเป็นรัสสะสระก่ชื่อว่า ปาทันตาคุรุชุแห่งแล จาด้วยจำพวกคุรุแล้วแล รัสสะสระ 3 ตัวก่ดี พยัญชนะ 32 ตัวฝูงอื่น กว่า คุรุ 5 จำพวกนี้ชื่อว่า ละหุเสี้ยงแล ดั่งคุรุทั้งมวลนั้นแลตัว 2 มาตราคือนาบุนดังฟ้าแมบ 2 ที หื้อหมายสัณฐานเหมือนดั่งเดือนบ้างนั้นไว้พายบนเหตุนั้นจิ่งเรียกว่า คุรุจังโก นั้นแล ดังละหุทั้งมวลแลตัวมีมาตราดั่งเดียวคือนาบุนฟ้าแมบแลที่หื้อหมาบดั่งสลาก เหตุนั้นจิ่งว่า เอกะมะวะณะ 4 ฆะเฏสิชะคณะ 5 กระณิสะคณะ 6 ราชะโตระคณะ 7 สัพพิชะตะคณะ 8 ที่อื่นก่หื้อเทียมคณะ 8หมู่ฝูงนี้เต๊อะหากจักแจงชะแล ลำคณะ 8 จำพวกนี้ ดังนี้ - มะคณะชื่อว่า ภูมิคณะ เสมอดั่งแผ่นดินจักหื้อผลเสถียรสถิตมั่นคุงนัก -นะคณะ ชื่อว่าจันทะคณะ เสมอดั่งพระจันทร์เป็ง หื้อผลบังเกิดข้าวของสมบัติกว้างขวางมากนักแล -ภะคณะ ชื่อสวรรคฺคณะหื้อผละจำเริญเที่ยงนักแล - ยะคณะ ชื่อชละคณะเสมอดั่งน้ำอโนดาตสระ บังเกิดหื้อชุ่มเนื้อเย็นใจนัก -ชะคณะ ชื่อสุริยะคณะร้อนดั่งพระอาทิตย์จักบังเกิดพยาธิยาด -สะคณะ ชื่ออัคคีคณะ เสมอดั่งไฟไหม้จัดจาย -ระคณะชื่ออากาสะคณะ เป็นดั่งอากาศกลางหาวเปล่าสูญเสียหาประโยชนะบ่ได้ -ตะคณะ ชื่อ วายุคณะเสมอดั่งลมพัดกำจัดตกไกลนักแล เหตุนั้นยังสังกาใจก่อยพิจจารณาสันนี้เล่าเต๊อะ แม่นว่าอักขระตังมวลมี 41 ตัวนี้เป็นสระ 8 ตัวลำสระ 8 ตัวนี้เป็นรัสสะสระ 3 ตัวคือ อะอิอุ เป็นทีฆะสระ 5 ตัว คือ อาอีอูเอ้โอ้ เป็นพยัญชนะ 32 ตัว มี กะ เป็นต้น มี ฬะอังเป็นที่สุด อัง ชื่อนิคคหิตแล แม่นว่าสันนี้ พยัญชนะ 32 อาศัยซึ่งรัสสะสระ 3 ตัวนั้นแล บ่มีตัวซ้อนพายหน้าก่บ่ใช่ตัวสุดบาทนั้นชื่อ ละหุ ชุตัวแล ทีฆะสระ 5 ตัวคือว่า อาอีอูเอ้โอ้ ฝูงนี้ก่ดีตัวพายหลังอันซ้อนพายหน้าก่ดีตัวสุดบาทคาถาก่ดีฝูงนี้ชื่อว่าคุรุจุตัวแล หากปรากฏว่า สวาขาโต เป็นสัพพะคุรุ อิติปิ เป็นสัพพะละหุแล โลกะวิ ชื่อว่าอาทิคุรุ นะโมเมเป็นอาทิละหุแล ฆะเฏสิ เป็นมัชฌะคุรุ ราชะโต เป็นมัชฌะลหุ สัพพีติ เป็นอันตะลหุ ไว้เป็นที่เทียมแล ตัวสุดบาทก่ดี ตัวอาขมก่ดีก่ดีแม่นอาศัยซึ่งสระและรัสสะสระก่ดีก่ชื่อคุรุเสี้ยงชุตัวแล จักแป๋งคำไทยว่าเรามาเมตตาไมตรีว่าอั้นก่ดี คำข้ามาไหว้ว่าอั้นก่ดี ฝูงนี้ชื่อสัพพะคุรุภูมิคณะแล สุภสมณะสาร แม่นว่าอี้ก่เป็นสัพพะละหุจันทะคณะแล ค่อยพิจารณาดูเต๊อะ หากจักปรากฏแล.
อักษร : ธรรมล้านนา
ลักษณะเอกสาร : พับสา
ผู้แต่ง/ผู้คัดลอก/ผู้สร้าง : ครูบาพิมพิสาร
ปีที่สร้าง : จุลศักราชได้ 1222 ตัวปีกดสัน ตรงกับปีพุทธศักราช 2403 ปีวอก โทศก
คำอธิบาย/ประวัติ/ตัวอย่างภาษา : ตำราคณะ 8 หมู่ เป็นตำราที่ปรากฏอยู่ในการเรียนการสอนภาษาบาลีจากคัมภีร์วุตโตทัย เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้หลักการ คณะ 8 หมู่ มาใช้สำหรับการแต่งเขียนบทความการแต่งสำนวนภาษาบาลี บทสวด รวมถึงการแต่ง กาพย์ โคลง ฉันท์ จึงเป็นหนึ่งในบทเรียนของพระสงฆ์ล้านนารูปแบบใช้จำเป็นต้องเรียนเป็นพื้นฐานเพื่อการใช้ศึกษาภาษาบาลีขึ้นสูงและการแต่งบทประพันธ์บทกวีต่างๆ รวมถึงเมื่อลาสิกขาไปเป็นฆราวาสแล้วจะสามารถนำวิชาเหล่านี้ไปใช้ในงานกิจการบ้านเมือง เช่นการเขียนหนังสือราชสารต่างเมือง การประกาศแต่งตั้งเจ้านาย หรือขุนนาง การแต่งตั้งพระมหาเถระประจำเมืองเป็นต้น ภายหลังนิยมนำมาใช้สำหรับเป็นพื้นฐานในการแต่งบทกลอนคร่าวฮ่ำต่างๆ
แหล่งข้อมูล :
ผู้บันทึก : Tawatchai tumtong
วันที่บันทึก : 26/07/2564
เปิดอ่าน : 892 ครั้ง

การเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
ภาพ

วิดีโอ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์

เว็บไซต์อัตลักษณ์ลำปาง
ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เลขที่ 119 หมู่ 9 ถนนลำปาง-แม่ทะ อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง 52100

© 2564-2567 ระบบฐานข้อมูลอัตลักษณ์ จังหวัดลำปาง